บริษัทรับสร้างบ้าน กทม เข้าใจเป็นอย่างดีว่า การสร้างบ้านสักหลัง เป็นเป้าหมายในชีวิตของใครหลายๆ คน แต่ปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายของคุณสำหรับ ไม่ได้มีเพียงแค่ ที่ดิน เงิน และแรงงานเพียงเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอีกประการที่หลายคนเลือกมองข้ามไป นั่นก็คือ “ข้อกฎหมายที่ดินและการปลูกสร้าง” ที่กำหนดขอบเขตในการก่อสร้างเอาไว้
ซึ่งหากคุณฝืนสร้างบ้านโดยไม่ศึกษาข้อกฎหมายเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ ไม่ว่าจะเป็น การรื้อถอน เปลี่ยนแปลง หรือลดทอนส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้าน เนื่องจากการออกแบบหรือการก่อสร้างผิดข้อกฎหมาย เป็นต้น และแน่นอนว่า นอกจากความวุ่นวายแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสียเพิ่มอีกด้วย
และแน่นอนว่า Royal House บริษัทรับสร้างบ้านกทม ก็อยากให้เป้าหมายของทุกคนเป็นจริงได้โดยไม่มีอุปสรรค เราจึงรวบรวมข้อกฎหมายที่ดินและการปลูกสร้างมาให้คุณได้รู้กัน ใครที่กำลังวางแผนจะสร้างบ้านในฝัน รีบไปอ่านต่อกันเถอะ!
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับ “ที่ดิน” ที่ต้องรู้โดย บริษัทรับสร้างบ้าน กทม
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มาตรา 71 ว่าด้วยเรื่อง “การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ตึกแถว ห้องแถว หรือบ้านแฝด และอาคารชั่วคราว ให้แสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละหน่วย”
การตรวจเช็กสภาพของที่ดิน ว่ามีปัญหาที่ดินต่ำกว่าถนน หรือไม่พบทางระบายน้ำ จำเป็นจะต้องมีการถมที่ดิน หรือขุดดินเพื่อทำทางน้ำไหล ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องกระทำภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2543 ประกอบด้วย 3 มาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- มาตราที่ 17 ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
- มาตรา 24 การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
- มาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือ มีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร หรือ มีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
“การขออนุญาตก่อสร้าง” ขั้นตอนที่ บริษัทรับสร้างบ้านกทม ต้องดำเนินการให้
เมื่อทำการปรับปรุงที่ดินให้เป็นไปตามข้อกฎหมายเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับต่อไปก็คือ การอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อก่อสร้าง โดยจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากคุณจ้าง บริษัทรับสร้างบ้าน บริษัทเหล่านี้จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ให้
เช่นเดียวกับ บริษัทรับสร้างบ้าน Royal House ที่มีเจ้าหน้าที่คอยติดต่อประสานงานในส่วนนี้ให้กับลูกค้าทุกท่าน เพื่อมอบความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการดำเนินการ ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้ชำระ และบริการนี้ มิใช่ส่วนหนึ่งของสัญญา
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ต้องรู้โดย บริษัทรับสร้างบ้าน กทม
หลังจากได้รับการอนุญาตสร้างบ้านแล้ว ก็ได้เวลาเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างบ้านกันแล้ว แต่ก่อนที่จะไปเริ่มต้นสร้างบ้าน ก็มีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว บริษัทรับสร้างบ้าน จะต้องให้ปรับเปลี่ยนแบบบ้านให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ราบรื่นเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้าง
โดยตามพระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 มีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านที่ต้องพิจารณาด้วยกัน 6 มาตรา ดังนี้
- มาตรา 36 “ที่ว่าง” หมายความว่า พื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอาจจะจัดให้เป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักรวมมูลฝอยหรือที่จอดรถ ที่อยู่ภายนอกอาคารก็ได้ และให้ความหมายรวมถึงพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างหรืออาคารที่สูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 1.20 เมตร และไม่มีหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหนือระดับนั้น ซึ่งกฎหมายจะบังคับให้มีที่ว่างโดยรอบบ้านตั้งแต่ตัวอาคารจรดรั้วผนังด้านนอกตั้งแต่ 2 เมตรเป็นต้นไป
- มาตรา 50 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร มิให้มีส่วนของอาคารล้ำเข้ามาในแนวร่นดังกล่าว ยกเว้นรั้วหรือกำแพงกั้นแนวเขตที่สูงไม่เกิน 2 เมตร
- มาตรา 51 ที่ดินที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่กว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 8 เมตร และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา รั้วหรือกำแพงกั้นเขตต้องปาดมุมมีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่าๆ กันห้ามมิให้รั้ว กำแพง หรือส่วนของอาคารยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินส่วนที่ปาดมุม
- มาตรา 54 อาคารด้านชิดที่ดินเอกชน ช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือริมระเบียงสำหรับชั้น 2 ลงมาหรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำหรับชั้น 3 ขึ้นไปหรือสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- มาตรา 55 อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร (บ้านเดี่ยวประมาณ 2 ชั้น) ต้องมีที่ว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- มาตรา 56 บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ผนังด้านที่ไม่มีช่องเปิดสามารถสร้างห่างเขตที่ดินได้น้อยกว่า 1 เมตร ถ้าห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินด้านนั้นด้วย
แม้ว่าข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้าน จะดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวอยู่พอควร แต่หากคุณเป็นคนที่มีเป้าหมายในการสร้างบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะในอนาคตอันใกล้ หรืออีกยาวไกล การศึกษาข้อกฎหมายเหล่านี้เอาไว้ จะช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนก่อนการก่อสร้างไปได้มากพอสมควร ยิ่งถ้าคุณเลือก บริษัทรับสร้างบ้าน กทม ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินการกับราชการมาก่อน ก็จะยิ่งสะดวกสบาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่ง Royal House ก็พร้อมที่จะให้การดูแล และดำเนินการในส่วนนี้ให้กับคุณทั้งหมด เพื่อมอบความสะดวกสบาย และบริการที่เหนือระดับให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยเรามีทีมงานที่พร้อมดูแลคุณตั้งแต่ขั้นตอนการสำรวจที่ดิน การยื่นขออนุญาตกับราชการ และขั้นตอนก่อสร้าง นอกจากนี้ Royal House ยังเพียบพร้อมไปด้วยบุคลากร เครื่องมือ และเทคโนโลยี เพื่อสร้าง “บ้าน” ที่เป็นสถานที่แห่งความสุขให้กับลูกค้าทุกท่าน สำหรับผู้ที่ไว้ใจให้เราสร้างบ้าน หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ Line: @royalhouse